สำหรับ ค่าโอนที่ดิน มีรายการมากมายที่ผู้เสียค่าโอนที่ดิน จำเป็นจะต้องรู้รายละเอียดอย่างครบถ้วน เพื่อที่จะได้เตรียมเงินขณะทำการดำเนินการให้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี ก็คือการเตรียมเงินให้พร้อมนั่นเอง ซึ่งไปดูกันดีกว่าว่าจะมีค่าใช้จ่ายในส่วนไหนบ้างที่เราต้องจ่าย
1. ค่าคำขอโอนที่ดินจำนวน 5 บาท
2. ค่าอากรแสตมป์โดยคิดจากราคาประเมินของที่ดินหรือราคาขาย ถ้าอันไหนเยอะกว่าจะต้องเลือกราคานั้น โดยจะคิด 0.5% ของราคาประเมิน
3. ค่าพยานที่ไปเป็นพยาน จำนวน 20 บาท
4. ค่าจดจำนอง 1% ของมูลค่าที่จดจำนอง ไม่เกิน 200,000 บาท กรณีที่กู้เงินธนาคารมาซื้อ
5. ค่าธรรมเนียมซื้อขายที่ดินหรือค่าโอนกรรมสิทธิ์ 2% จากราคาประเมินของที่ดินหรือราคาขายที่มีจำนวนสูงที่สุด
6. ค่าภาษีโอนที่ดินธุรกิจสำหรับผู้ขายที่ดิน 3.3% จากราคาประเมินของที่ดินหรือราคาขายที่มีจำนวนสูงที่สุด
7. ค่าภาษีเงินได้แบบบุคคลธรรมดา จะคิด 1% – 2.5% , นิติบุคคล จะคิดที่ 1% ของราคาขายจริง
เงื่อนไขค่าโอนที่ดิน
ในส่วนต่อมาเรามาว่ากันในเรื่องของ ค่าธรรมเนียมโอนที่ดิน ที่ถือว่ามีหลายประเภทมาก ๆ ที่จะสามารถนำมาประเมินภายใต้เงื่อนไขต่างๆ โดยจะอธิบายให้เห็นภาพชัดขึ้นดังต่อไปนี้
1. ค่าโอนที่ดินให้ลูก
ถ้าจะทำการโอนที่ดินของเราให้กันลูก เราจะต้องเสียค่าใช้จ่ายในการโอนที่ดิน ดังนี้
- ค่าธรรมเนียมโอนที่ดิน : 0.5%
- ค่าอากรแสตมป์ : 0.5%
- ค่าภาษีเงินได้ : ราคาซื้อขายไม่เกิน 20 ล้านบาทไม่ต้องจ่าย แต่ถ้าราคาขายเกิน 20 ล้านบาท ต้องเสียภาษี 5%
2. ค่าโอนที่ดินมรดก
สำหรับใครที่มีที่ดินแล้วต้องการเก็บไว้เป็นมรดก ไม่ว่าจะให้ใครก็ตาม จะต้องเสียค่าใช้จ่ายต่างๆดังนี้
- บุพการี คู่สมรส และผู้สืบสันดาน คิด 0.5%
- ญาติตามสายเลือด บุตรบุญธรรม และคนอื่น คิด 2%
- ค่าอากรแสตมป์ ค่าภาษีเงินได้ และ ค่าภาษีธุรกิจเฉพาะ : ได้รับการยกเว้น
3. ค่าโอนที่ดินให้คู่สมรส
ใครมีสามี ใครมีภรรยา แล้วมีที่ดิน แต่อยากให้ให้กับคู่สมรสของเรา มาดูค่าใช้จ่ายต่างๆที่เราต้องเสียในการโอนที่ดินให้คู่สมรสของเรากัน
- ค่าธรรมเนียมโอนที่ดิน : 0.5%
- ค่าอากรแสตมป์ : 0.5% หรือ ค่าภาษีธุรกิจเฉพาะ 3.3%
- ค่าภาษีเงินได้ : เสียภาษีตามขั้นบันได ลดหย่อนได้ 50%
4. ค่าโอนที่ดินให้ญาติ
มีญาติดี สนิทกับญาติคนนี้มาก อยากโอนที่ดินให้ญาติ ต้องเสียค่าใช้จ่ายอะไรบ้างนะ
- ค่าธรรมเนียมโอนที่ดิน : 2%
- ค่าอากรแสตมป์ : 0.5% หรือ ค่าภาษีธุรกิจเฉพาะ 3.3%
- ค่าภาษีเงินได้ : เสียภาษีตามขั้นบันได ลดหย่อนได้ 50%
5. ค่าโอนที่ดินแบบซื้อขาย
แล้วถ้าซื้อขายที่ดินล่ะ จะโอนที่ดินให้คนซื้อ จะมีค่าอะไรบ้างนะที่ต้องเสีย
- ค่าธรรมเนียมโอนที่ดิน : 2%
- ค่าอากรแสตมป์ : 0.5% หรือ ค่าภาษีธุรกิจเฉพาะ 3.3%
- ค่าภาษีเงินได้ : เสียภาษีตามขั้นบันได (ลดหย่อนตามปีที่ถือครอง)
คำนวณค่าโอนที่ดิน (คำนวณตามเงื่อนไข)
1.ค่าธรรมเนียมโอน จะคิดที่ 2% ของราคาประเมินกรมที่ดิน
ตัวอย่าง : 1,500,000 x 2% = 30,000 บาท
2.ค่าภาษีเงินได้
บุคคลธรรมดา (1% – 2.5%)
นิติบุคคล (1%)
ตัวอย่าง : 1,500,000 x 1% = 15,000 บาท (กรณีที่คิดเป็น 1%)
3.ค่าอากรแสตมป์ จะคิดที่ 0.5%
ตัวอย่าง : 1,500,000 x 0.5% = 7,500 บาท
4.ค่าภาษีธุรกิจเฉพาะ จะคิดที่ 3.3%
ตัวอย่าง : 1,500,000 x 3.3% = 49,500
5.ค่าจดจำนอง จะคิดค่าจดจำนองที่ 1%
ตัวอย่าง : 1,500,000 x 1% = 15,000 บาท
รวมเป็นเงิน 117,000 บาท
รวมค่าใช้จ่ายทั้งหมด 117,030 บาท
หมายเหตุ : สามารถเพิ่มหรือตัดได้ตามเงื่อนไข
เอกสารที่ต้องใช้ในการโอนที่ดิน
นอกจากค่าโอนที่ดิน เอกสารในการโอนที่ดินก็จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเตรียมให้ครบ และมีการเช็กรายละเอียดในแต่ละจุดอย่างถี่ถ้วน โดยเอกสารที่ต้องใช้ในการโอนที่ดินมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ครับ
บุคคลธรรมดาโอนที่ดินจะต้องเตรียม
- บัตรประจำตัวประชาชน พร้อมสำเนาที่ลงชื่อรับรองสำเนาถูกต้อง
- ทะเบียนบ้าน พร้อมสำเนาลงชื่อรับรองสำเนาถูกต้อง
- หนังสือมอบอำนาจ (ทด.21) ในกรณีให้บุคคลอื่นมาดำเนินการแทน
นิติบุคคลโอนที่ดินจะต้องเตรียม
- หนังสือรับรองนิติบุคคล มีอายุไม่เกิน 1 เดือน
- บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น มีอายุไม่เกิน 1 เดือน
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของกรรมการผู้มีอำนาจลงนาม
- สำเนาทะเบียนบ้านของกรรมการผู้มีอำนาจลงนาม
- หนังสือแสดงตัวอย่างลายมือชื่อกรรมการ
- รายงานการประชุมคณะกรรมการบริษัท ซึ่งระบุวัตถุประสงค์แหล่งเงินที่ใช้ซื้อ
ขั้นตอนการโอนที่ดิน
ระยะเวลาที่ใช้ในการโอนที่ดินจะมากน้อยเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับคิวหรือจำนวนคนที่ใช้บริการที่สำนักงานที่ดิน หากไม่มีคิวยาว ก็น่าจะใช้เวลาประมาณ 1-2 ชั่วโมง อย่างไรก็ดี ขอแนะนำให้ไปสำนักงานที่ดินแต่เช้าเพื่อจองคิวและลดเวลาที่ต้องรอคอย
1. กรอกคำขอ พร้อมแนบเอกสารที่ใช้ในการโอนที่ดินตามที่ระบุในข้างต้น
2. นำคำขอและเอกสารดังกล่าวไปยื่นกับเจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ เมื่อผ่านการตรวจสอบเอกสารแล้ว เจ้าหน้าที่ฯ จะให้บัตรคิวเพื่อไปรอเรียกที่ฝ่ายชำนาญงาน
3. เมื่อถึงคิว ผู้โอนและผู้รับโอนที่ดินจะต้องลงลายมือชื่อในเอกสารต่อหน้าเจ้าหน้าที่ชำนาญงาน
4. เจ้าหน้าที่ชำนาญงานจะประเมินราคาที่ดินและนำไปใช้ในการคำนวณค่าโอนที่ดิน ค่าธรรมเนียมโอนที่ดิน ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในการโอนที่ดิน เมื่อทราบยอดราคาค่าโอนที่ดินแล้ว จะได้รับใบคำนวณค่าใช้จ่ายจากเจ้าหน้าที่
5. ให้นำใบคำนวณราคาค่าโอนที่ดินไปชำระเงินที่ฝ่ายการเงิน จากนั้นจะได้รับใบเสร็จสีฟ้าและสีเหลือง
6. ให้มอบใบเสร็จสีเหลืองแก่เจ้าหน้าที่ฝ่ายชำนาญงาน และรับสำเนาใบเสร็จรับเงินสีฟ้าจากผู้ขาย (ตัวจริงผู้ขายเก็บรักษา)
7. เจ้าหน้าที่ชำนาญงานจะพิมพ์สลักหลังโฉนดและมอบให้ตรวจสอบ เมื่อโฉนดถูกต้องเรียบร้อยแล้ว ก็จะได้รับโฉนดพร้อมสัญญาซื้อขาย (ทด.13) ซึ่งถือว่าสิ้นสุดขั้นตอนการโอนที่ดิน และกรรมสิทธิ์ของที่ดินก็ถือเป็นของผู้ซื้อหรือผู้รับโอนโดยสมบูรณ์
หากไม่สะดวกไปดำเนินการโอนที่ดินด้วยตนเอง สามารถมอบอำนาจให้บุคคลอื่นทำแทนได้ อ่านเพิ่มเติมใช้หนังสือมอบอำนาจที่ดิน ซื้อ-ขาย-โอนสะดวกสบาย
อ้างอิงที่มา : กรมที่ดิน
: Refinn
>> ขั้นตอนง่ายๆ ประมูลทรัพย์ที่ดินขายทอดตลาด
การเงินดี ชีวิตก็มีความสุขมากขึ้น💖