ข่าวแจกเงินดิจิทัล

ผลกระทบ แจกเงิน 10,000 ดิจิทัลวอลเล็ต

ครม.ไฟเขียวปรับแผนบริหารหนี้สาธารณะ ปีงบประมาณ 2567 ครั้งที่ 2 รัฐบาลก่อหนี้ใหม่เพิ่ม 2.75 แสนล้านบาท

อัปเดตเงื่อนไขดิจิทัลวอลเล็ตล่าสุด คณะกรรมการฯ เคาะไตรมาส 3 เริ่มให้ประชาชน และร้านค้าลงทะเบียน ไตรมาส 4 พร้อมแจกเงิน 

สิ้นสุดการรอคอยแล้วสำหรับ โครงการดิจิทัลวอลเล็ต นโยบายเรือธงกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างเร่งด่วนของรัฐบาลเศรษฐา คณะกรรมการนโยบายโครงการเติมเงิน 10,000 บาท มีมติเห็นชอบโครงการฯ โดยให้ประชาชนและร้านค้าเข้าร่วมโครงการภายในไตรมาสที่ 3 ของปี 2567 และจะมีการเริ่มใช้จ่ายภายในไตรมาสที่ 4 

 รัฐบาลจึงเห็นความจำเป็นอย่างยิ่งในการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านโครงการฯ เพื่อเพิ่มเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจให้กระจายตัวไปสู่ท้องถิ่นและชุมชน

ใครบ้างมีสิทธิ์รับเงินดิจิทัล 10,000 บาท 

โครงการนี้ครอบคลุมประชาชนกลุ่มเป้าหมาย 50 ล้านคน โดยต้องมีอายุเกิน 16 ปี ณ เดือนที่มีการลงทะเบียน 

ไม่เป็นผู้ที่มีเงินได้พึงประเมินเกิน 840,000 บาทต่อปีภาษี และมีเงินฝากกับธนาคารพาณิชย์ และสถาบันการเงินเฉพาะกิจ รวมกันไม่เกิน 500,000 บาท

เงื่อนไขการใช้จ่ายดิจิทัลวอลเล็ต แบ่งออกเป็น 2 ประเภท

1.ระหว่างประชาชนกับร้านค้า 

ใช้จ่ายเชิงพื้นที่ในระดับอำเภอ (878 อำเภอ) โดยต้องใช้จ่ายกับร้านค้าขนาดเล็กตามที่กระทรวงพาณิชย์กำหนดเท่านั้น 

2.ระหว่างร้านค้ากับร้านค้า 

ไม่กำหนดเงื่อนไขการใช้จ่ายเชิงพื้นที่ระหว่างร้านค้ากับร้านค้า ในระดับอำเภอและขนาดของร้านค้า

ทั้งผู้เข้าร่วมโครงการสามารถใช้จ่ายได้หลายรอบ โดยรอบที่ 1 จะเป็นการใช้จ่ายระหว่างประชาชนกับร้านค้าขนาดเล็กเท่านั้น (ตามกระทรวงพาณิชย์กำหนด) 

ตั้งแต่รอบที่ 2 ขึ้นไป จะเป็นการใช้จ่ายระหว่างร้านค้ากับร้านค้าโดยไม่จำกัดขนาดร้านค้า โดยสินค้าทุกประเภทสามารถใช้จ่ายผ่านโครงการฯ 

ยกเว้น สินค้าอบายมุข น้ำมัน บริการ และออนไลน์ เป็นต้น และสิ่งที่กระทรวงพาณิชย์จะกำหนดเพิ่มเติม

คุณสมบัติร้านค้าที่จะเข้าร่วมในโครงการ

ร้านค้าที่สามารถถอนเงินสดจากโครงการฯ จะต้องเป็นร้านค้าที่อยู่ในระบบภาษี ดังนี้

  • ภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value Added Tax: VAT)
  • ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (Personal Income Tax: PIT) เฉพาะผู้มีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (8) แห่งประมวลรัษฎากร 
  • ภาษีเงินได้นิติบุคคล (Corporate Income Tax: CIT)

ทั้งนี้ ร้านค้าไม่สามารถถอนเงินสดได้ทันที หลังประชาชนใช้จ่าย แต่ร้านค้าจะสามารถถอนเงินสดได้เมื่อมีการใช้จ่ายตั้งแต่ในรอบที่ 2 เป็นต้นไป

ลงทะเบียนรับเงินดิจิทัลวอลเลต 10,000 ผ่านแอปเป๋าตัง

รัฐบาลก่อหนี้เพิ่ม 2.7 แสนล้าน กันเงินแจกดิจิทัลวอลเล็ต ดันหนี้สาธารณะพุ่ง 65%

อ้างอิงที่มา:ไทยรัฐ

ครม.ไฟเขียวปรับแผนบริหารหนี้สาธารณะ ปีงบประมาณ 2567 ครั้งที่ 2 รัฐบาลก่อหนี้ใหม่เพิ่ม 2.75 แสนล้านบาท แบ่งเป็นใช้จ่ายโดยตรง 2.69 แสนล้านบาท ให้รัฐวิสาหกิจกู้เพิ่ม 3,470 ล้านบาท โฆษกรัฐบาลรับส่วนหนึ่ง เอาไปหนุนแจกเงินดิจิทัลวอลเล็ต ดันหนี้สาธารณะพุ่ง 65% สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.) เตือน ทำแผนบริหารความเสี่ยง ป้องกันการผิดนัดชำระหนี้ในอนาคต

นางรัดเกล้า อินทวงศ์ สุวรรณคีรี รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีนอกสถานที่อย่างเป็นทางการ (ครม.สัญจร) จ.นครราชสีมา เห็นชอบตามที่กระทรวงการคลังโดยคณะกรรมการนโยบายและกำกับการบริหารหนี้สาธารณะ เสนอให้มีการปรับปรุงแผนการบริหารหนี้สาธารณะประจำปีงบประมาณ 2567 ครั้งที่ 2 ซึ่งมีการเปลี่ยนจากการอนุมัติแผนบริหารหนี้สาธารณะปี 2567 ครั้งที่ 1 ที่ครม.อนุมัติไปเมื่อวันที่ 13 ก.พ. 

โดยภายหลังการปรับปรุงแผนบริหารหนี้สาธารณะ จะทำให้ระดับหนี้สาธารณะ ต่อ GDP อยู่ที่ 65.05% ต่อ GDP เพิ่มขึ้นจากแผนเดิมที่ 61.29% ของ GDP จากกรอบบริหารหนี้สาธารณะที่ไม่เกิน 70% ของ GDP     

แผนการบริหารหนี้สาธารณะ ประจำปีงบประมาณ 2567 ครั้งที่ 2 มีสาระสำคัญดังนี้

1.โดยแผนการก่อหนี้ใหม่ ปรับเพิ่มขึ้นสุทธิ 275,870.08 ล้านบาท จากเดิม 754,710 ล้านบาท รวมเป็น 1,030,580.71 ล้านบาท แบ่งเป็นการก่อหนี้ของรัฐบาล ที่รัฐบาลกู้มาใช้โดยตรงเพิ่มขึ้น 269,000 ล้านบาท เพื่อให้สอดคล้องกับ พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2567 และแผนการก่อหนี้ใหม่ของรัฐวิสาหกิจที่กู้เงินเพิ่มขึ้น (จากแหล่งเงินในประเทศ) อีกประมาณ 3,470 ล้านบาท โดยเป็นการกู้เงินเพื่อลงทุน ในโครงการพัฒนารัฐวิสาหกิจ 4 แห่ง เช่น การประปาส่วนภูมิภาค การไฟฟ้านครหลวง ฯลฯ

2. แผนการบริหารหนี้เดิม ปรับเพิ่มขึ้นสุทธิ 33,420.32 ล้านบาท จากเดิม 2,008,893.74 ล้านบาท เป็น 2,042,314.06 ล้านบาท

3. แผนการชำระหนี้ ปรับเพิ่มสุทธิ 54,555.17 ล้านบาท จากเดิม 399,613.70 ล้านบาท เป็น 454,168.87 ล้านบาท

ทั้งนี้ นายชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ยอมรับว่า การปรับปรุงแผนการก่อหนี้ใหม่ที่รัฐบาลกู้มาใช้โดยตรงเพิ่มขึ้น 269,000 ล้านบาท เพื่อให้สอดคล้องกับ พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2567 นั้น ส่วนหนึ่งคือจำนวน 112,000 ล้านบาท จะนำมาใช้ในโครงการแจกเงิน 10,000 บาทผ่านดิจิทัลวอลเล็ต

นอกจากนี้ ครม.ได้มอบหมายสำนักงบประมาณ (สงป.) ให้รับข้อสังเกตในประเด็นเกี่ยวกับ การจัดสรรงบประมาณเพื่อชำระต้นเงินกู้และดอกเบี้ยของหนี้รัฐบาลและหนี้รัฐวิสาหกิจให้เพียงพอ และสอดคล้องกับขนาดของมูลหนี้ ที่ครบกำหนดชำระในปีงบประมาณนั้น โดยควรจัดสรรงบประมาณ เพื่อชำระต้นเงินกู้เฉพาะในส่วนหนี้รัฐบาลให้อยู่ระหว่างร้อยละ 2.5-4% ของงบประมาณรายจ่ายประจำปี

ขณะที่ สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.) ได้ให้ความเห็นว่า ปัจจุบันหนี้สาธารณะของประเทศไทยอยู่ในระดับที่ค่อนข้างสูง และมีแนวโน้มว่าจะสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่ขีดความสามารถในการชำระหนี้ของรัฐบาลยังคงมีอยู่อย่างจำกัด ประกอบกับภาวะอัตราดอกเบี้ยยังคงอยู่ในระดับค่อนข้างสูง ส่งผลให้รัฐบาลมีภาระในการชำระหนี้เพิ่มมากขึ้นกว่าในอดีต  อีกทั้งยังมีปัจจัยที่เป็นตัวเร่งให้จำนวนหนี้สาธารณะเพิ่มสูงขึ้น คือ การจัดทำวงเงินงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปี 2567 ซึ่งได้บรรจุรายการวงเงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุลสัดส่วนต่อจีดีพี 112,000 ล้านบาท ไว้ด้วย และการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2568 ซึ่งมีการกำหนดวงเงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณสูงถึง 865,700 ล้านบาท 

ดังนั้นเพื่อให้การบริหารหนี้สาธารณะเป็นไปอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ จึงเห็นควรให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำแผนบริหารความเสี่ยงเพื่อรองรับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น และเพื่อป้องกันการเกิดการผิดนัดชำระหนี้ในอนาคต โดยให้คำนึงถึงการปฏิบัติตามกรอบวินัยการเงินการคลังของรัฐ รวมทั้งให้ดำเนินการตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัดด้วย และต้องพิจารณาความเป็นไปได้ในการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีแบบสมดุลให้ได้โดยเร็ว เพื่อลดการขาดดุลงบประมาณในระยะปานกลาง

อ้างอิงที่มา: ไทยรัฐ


ไอเดียอื่น ที่น่าสนใจ

=>> สูตรบริหารเงินให้รวย <<=

=>> วางแผนแบบนี้ มีเงินใช้ไปตลอด

สนใจ เข้าร่วมเฟสบุ๊คกลุ่ม ไอเดียการหาเงินออนไลน์ >> >>คลิก

ติดตาม💸ขายไอเดียได้ที่

>> Twitter 

>> Facebook Page >> Instagram  ขอบคุณค่ะ

751 Views จำนวนผู้เยี่ยมชม