เกษียณอายุคืออะไร
การเกษียณอายุ คือ การครบกําหนดอายุรับราชการ สิ้นกําหนดเวลารับราชการหรือสิ้นสุดครบกำหนดอายุการทํางาน พูดสั้น ๆ ว่า “เกษียณอายุ”
เกษียณอายุราชการ คืออะไร
การเกษียณอายุราชการคือ เมื่อผู้สูงอายุครบเกษียณอายุ หรือลาออกเมื่อมีอายุครบ ๖๐ ปีบริบูรณ์; เหตุรับราชการนาน ข้าราชการผู้มีสิทธิลาออกจากราชการโดยมีเวลาราชการ ๒๕ ปีขึ้นไป
เกษียณอายุราชการได้เงินอะไรบ้าง
1.บำเหน็จบำนาญ
ทำงานราชการเกษียณอายุ 60 ปี รับราชการมาแล้วกว่า 25 ปี
การคำนวณบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
ตาม พรบ. บำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2494
บำเหน็จ = เงินเดือนเดือนสุดท้าย X เวลาราชการ
บำนาญ = เงินเดือนสุดท้าย X เวลาราชการ
ตาม พรบ. กองทุนบำเหน็จบำนาญ พ.ศ. 2537
บำเหน็จ = เงินเดือนเดือนสุดท้าย X เวลาราชการ
บำนาญ* = เงินเดือนเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย X เวลาราชการ
2.บำเหน็จดำรงชีพ
การนำบำเหน็จตกทอดจำนวน 15 เท่าของบำนาญแต่ไม่เกิน 200,000 บาทมาจ่ายให้กับผู้ที่ได้รับบำนาญ
3.บำเหน็จตกทอด
เงินที่รัฐจ่ายเพื่อเป็นการสงเคราะห์แก่ทายาทของข้าราชการ หรือทหารกองหนุนมีเบี้ยหวัด หรือผู้รับบำนาญที่ถึงแก่ความตาย หรือ บุคคลซึ่งผู้ตายแสดงเจตนาไว้โดยจ่ายเป็นเงินก้อนครั้งเดียว
กรณีข้าราชการตาย
1)หลักฐานเช่นเดียวกับการขอรับบำเหน็จบำนาญ
2)สำเนาใบมรณบัตร
3)หลักฐานที่เกี่ยวกับทายาท
กรณีผู้รับบำนาญตาย
1)หนังสือแสดงการหมดสิทธิรับบำนาญ
2)สำเนาใบมรณบัตร
3)หลักฐานที่เกี่ยวกับทายาท
ทายาทผู้มีสิทธิได้รับบำเหน็จตกทอด
1. บุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย
2. สามี หรือภริยา ที่ชอบด้วยกฎหมาย
3. บิดาและ มารดา ที่ชอบด้วยกฎหมาย
4.เงินช่วยพิเศษ
เงินที่จ่ายให้กับผู้รับมรดกของผู้ทำงานราชการที่ได้เสียชีวิต และจ่ายเป็นจำนวน 3 เท่าของบำเหน็จ บำนาญ ยืนขอรับภายใน 1 ปีหลังจากผู้รับบำนาญเสียชีวิต
5.เงินช่วยค่าครองชีพพิเศษผู้รับเบี้ยบำนาญ(ช.ค.บ.)
เงินช่วยค่าครองชีพพิเศษผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญสำหรับผู้ได้รับหรือมีสิทธิได้รับเบี้ยหวัดตามข้อบังคับกระทรวงกลาโหม ผู้ได้รับหรือมีสิทธิได้รับบำนาญปกติ บำนาญพิเศษเพราะเหตุทุพพลภาพ
6.การเสียสิทธิ
1.ผู้รับบำนาญเสียสิทธิในการรับบำนาญ
2.ทายาทหรือบุคคลซึ่งผู้รับบำนาญแสดงเจตนาไว้เสียสิทธิรับบำเหน็จตกทอด
กรมบัญชีกลางรายงานว่า กฎหมายขยายเพดานเงินบำเหน็จดำรงชีพเพิ่ม เป็น 500,000 บาท ให้ผู้รับบำนาญอายุ 70 ปีบริบูรณ์ ออกแล้ว ในหลักการ ของกฎกระทรวง คือ ให้จ่ายบำเหน็จดำรงชีพในอัตรา 15 เท่าของบำนาญรายเดือน แต่ไม่เกิน 500,000 บาท
เกษียณอายุเอกชน คืออะไร
การเกษียณอายุเอกชน คือ กรณีกำหนดการเกษียณอายุ“ก่อนครบ 60 ปีบริบูรณ์” ให้ถือว่าการเกษียณอายุไปเป็นตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน หรือสัญญาจ้าง หรือข้อตกลงระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง
กรณีกำหนดการเกษียณอายุ“เกินกว่า 60 ปีบริบูรณ์ หรือไม่ได้มีการกำหนด” ลูกจ้างมีสิทธิขอเกษียณอายุได้เมื่อมีอายุครบ 60 ปีขึ้นไป และให้มีผลเมื่อครบ 30 วันหลังการแสดงเจตนา ลูกจ้างมีสิทธิ์ได้รับค่าชดเชยตามกฎหมาย
เกษียณอายุเอกชน ได้เงินอะไรบ้าง
1. เงินชดเชยเลิกจ้าง
ในกรณีที่ลูกจ้างทำงานจนถึงเกษียณ ตามพรบ.คุ้มครองแรงงาน มาตรา 118 วรรค 2 กำหนดว่านายจ้างจะต้องจ่ายเงินชดเชยการเลิกจ้างให้แก่ลูกจ้าง โดยระบุว่า “การเกษียณ” เท่ากับ “การเลิกจ้าง” โดยอายุการเกษียณ ก็ขึ้นอยู่กับแต่ละองค์กรกำหนด หากแต่ถ้าองค์กรใด กำหนดอายุเกษียณมากกว่าอายุ 60 ปีบริบูรณ์ หรือไม่มีการกำหนด พนักงานมีสิทธิขอเกษียณอายุได้เมื่อมีอายุครบ 60 ปีขึ้นไป และให้มีผลเมื่อครบ 30 วันหลังการแสดงเจตนา
ทั้งนี้ จำนวนเงินจะเป็นเท่าไหร่นั้นขึ้นอยู่กับอายุงาน เช่น ถ้าเราเงินเดือนเดือนสุดท้าย 60,000 บาท และเราทำงานมาแล้ว 12 ปี เราก็จะได้ค่าชดเชย 300 วัน คิดเป็นจำนวนเงินประมาณ 10 เดือนของเงินเดือนเดือนสุดท้ายสุดท้าย คือ 600,000 บาท
2. เงินบำเหน็จบำนาญจากกองทุนประกันสังคม (เงินออมชราภาพ)
ในทุกๆ เดือน เวลาที่เราได้รับเงินเดือน จะมีเงินที่ถูกหักออกไปสำหรับจ่ายกองทุนประกันสังคม นอกจากสวัสดิการสุขภาพต่างๆ ที่ได้รับในยามเกษียณ ผู้ประกันตนที่จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 180 เดือน เมื่อครบอายุ 55 ปี และความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลงจะได้รับเงินบำนาญชราภาพ ในอัตรา 20% ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย
ตัวอย่างเช่น เงินเดือนเฉลี่ย 15,000 บาท ก็จะได้รับบำนาญเดือนละ 3,000 บาท โดยเงินเดือนสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท หากจำนวนเดือนที่จ่ายเงินสมทบมากกว่า 180 เดือน ก็จะได้ตัวคูณเพิ่มขึ้น 1.5% ต่อปี ยกตัวอย่างเช่น เงินเดือนเฉลี่ย 15,000 บาท จ่ายเงินสมทบมาแล้ว 20 ปี หรือ 240 เดือน ตัวคูณจะเพิ่มอีก 1.5% x 5 ปี = 7.5% เพิ่มจาก 20% กลายเป็น 27.5% แสดงว่า ผู้ประกันตนรายนี้จะได้รับเงินบำนาญเดือนละ 4,125 บาท แต่ทั้งนี้ สำหรับผู้ประกันตนที่จ่ายเงินสมทบมาน้อยกว่า 12 เดือน ก็จะได้รับเงินสมทบตามจำนวนที่สมทบมาจริง
3. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
ถึงแม้ว่าจะยังไม่มีตัวกฎหมายบังคับให้ทุกบริษัทต้องมีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพให้พนักงาน แต่ก็มีบริษัทจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ ที่เล็งเห็นความสำคัญในการช่วยเหลือสนับสนุนให้พนักงานมีการออมเงินผ่านกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ซึ่งจะมีการจัดตั้งขึ้นมาเพื่อบริหารเงินออมให้งอกเงยตามนโยบายการลงทุนที่แต่ละบริษัทกำหนด โดยในแต่ละเดือน พนักงานจะถูกหักเงินเข้าไปออมในกองทุน ส่วนบริษัทก็จะมีการสมทบเงินอีกจำนวนตามจำนวนที่พนักงานออม หรือตามที่ตกลงกัน
โดยมีเงื่อนไขว่าเงินก้อนนี้จะสามารถนำออกมาได้โดยไม่ต้องนำมาคำนวณภาษีบุคคลธรรมดา ก็ต่อเมื่อมีการถูกดึงออกมาหลังอายุ 55 ปีบริบูรณ์ เงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพถือเป็นการออมเงินที่ถูกหักโดยอัตโนมัติทุกเดือนออกจากเงินเดือน และมีความต่อเนื่องเป็นระยะเวลายาวตามอายุการทำงานของแต่ละบุคคล ฉะนั้นเงินก้อนนี้ เมื่อเริ่มเกษียณก็จะถือเป็นแหล่งเงินเกษียณสำคัญก้อนหนึ่งที่เราต้องนำมาคำนวณ เราอาจจะต้องมีการประมาณการล่วงหน้า ว่าหากเราทำงานต่อเนื่องไปจนเกษียณ ด้วยอัตราเงินเดือนที่เพิ่มขึ้นทุกปีแล้ว
เงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพนี้จะมีโอกาสเติบโตไปจนแค่ไหน อย่างไรก็ตาม การกำหนดนโยบายการลงทุนก็จะมีผลสำคัญเช่นกันกับการเติบโตของเงินในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ซึ่งเราจำเป็นต้องกำหนดนโยบายการลงทุนให้เหมาะสมกับอายุและการรับความเสี่ยงของเรา
4. ค่าชดเชยพิเศษ หรือเงินช่วยเหลืออื่นๆ
อันนี้ขึ้นอยู่กับนโยบายสวัสดิการของแต่ละบริษัท ตามที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกัน โดยบางบริษัทอาจมีสวัสดิการอื่นๆ สำหรับพนักงานเกษียณอายุ เช่น การให้หุ้นตามอายุงาน การแบ่งผลกำไร ฯลฯ
5. เบี้ยยังชีพคนชรา
สำหรับผู้ที่มีสัญชาติไทย มีภูมิลำเนาในทะเบียนบ้าน อายุมากกว่า 60 ปีบริบูรณ์ จะมีสิทธิ์ได้รับเบี้ยยังชีพนี้ โดยในทุกๆ ปี จะมีการเปิดให้ผู้สูงอายุรายใหม่ๆ ที่มีสิทธิ เข้ามาลงทะเบียนเพื่อรับเงินในส่วนนี้ โดยการลงทะเบียนรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุไม่จำเป็นต้องไปลงทะเบียนใหม่ทุกปี ลงเพียงครั้งเดียวก็ได้รับสิทธิไปตลอด หวังว่าในอนาคต ในยามเมื่อเราเกษียณ จะได้รับการช่วยเหลือในรูปแบบนี้จากภาครัฐจะยังคงอยู่ โดย
รายได้จะได้ตามอายุตามขั้นบันไดตามนี้
อายุ 60-69 ปี ได้รับเงิน 600 บาท/เดือน
อายุ 70-79 ปี ได้รับเงิน 700 บาท/เดือน
อายุ 80-89 ปี ได้รับเงิน 800 บาท/เดือน
อายุ 90 ปีขึ้นไป ได้รับเงิน 1,000 บาท/เดือน
6. เงินออมตามภาคสมัครใจ
เงินออมต่างๆ ที่เราเฝ้าเพียรเก็บมาตั้งแต่เริ่มทำงาน มีอยู่หลายรูปแบบ แตกต่างตามความเสี่ยงรูปแบบการลงทุน และลักษณะของผลิตภัณฑ์การลงทุนที่เลือก เช่น
กองทุนต่างๆ เช่น กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) กองทุนหุ้นระยะยาว (LTF) กองทุนรวมเพื่อส่งเสริมการออมระยะยาว (SSF) กองทุนรวมทั่วไป ฯลฯ
ประกันสะสมทรัพย์ เช่น ประกันสะสมทรัพย์รูปแบบต่างๆ ประกันควบการลงทุน ซึ่งหลายๆ ท่านอาจมองข้ามไปว่าประกันต่างๆ เมื่อสะสมจ่ายไปเป็นระยะเวลายาวๆ ก็จะมีมูลค่าด้วยเช่นกัน ซึ่งเราสามารถนับมูลค่าเงินสดเป็นแหล่งเงินทุนเกษียณของเรา แต่ทั้งนี้ ไม่รวมถึงประกันคุ้มครองสุขภาพโดยส่วนใหญ่จะเป็นประกันในรูปแบบที่ไม่มีการสะสมมูลค่า หรือจ่ายทิ้ง
การลงทุนในรูปแบบต่างๆ เช่น หุ้น อสังหาริมทรัพย์ ฯลฯ ทั้งนี้แล้วแต่ประสบการณ์การลงทุนของแต่ละบุคคล
สรุป
หลังจากที่คุณได้ไปแล้วว่าการเกษียณอายุราชการและเอกชนคืออะไร ก็อย่าลืมวางแผนการเกษียณเพื่อให้มีคนใช้ไปตลอดชีวิตกันด้วยนะค่ะ
อ่านเพิ่มเติม
- วิธีเลือกประกันชีวิตที่เหมาะกับคุณ
- สินเชื่อบ้านธนาคารไหนดอกเบี้ยดีสุด
- แนะนำแอปกู้เงินถูกกฎหมาย
- เงินฝากออมทรัพย์ดอกเบี้ยสูง
- 10 วิธีหารายได้เสริมได้เงินจริงล่าสุด
- การจ่ายเงินเดือนข้าราชการออกวันไหนบ้างไปดู
- 15 วิธีหาเงินออนไลน์ได้เงินจริงถูกกฎหมาย
>> หาหนังสือดีๆสักเล่มอ่านเพื่อชีวิตที่ดีขึ้นกว่าเดิม
ติดตาม💡ขายไอเดียได้ที่>> Twitter และ Facebook Page